บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2018

5 วิธีเรียนให้เข้าใจ

รูปภาพ
เรียนอย่างไรให้เข้าใจ ทั้งอ่านและจดโน๊ต… 1. ทบทวนบทเรียนอย่างตั้งใจ หลังจากที่ เราได้เรียนไปแล้วในแต่ละคาบ ก็ควรที่จะกลับมาทบทวนหรืออ่านหนังสือเองอีกครั้ง  โดยทว่าจะต้องอ่านอย่างตั้งใจและทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กับตอนที่อ่านหนังสือหรือทบทวนบทเรียน  ไม่ใช่อ่านไปเรื่อยๆ แล้วคิดว่าค่อยกลับมาอีกรอบ แบบนี้ห้ามทำโดยเด็ดขาด เพราะนั้นจะทำให้เราได้เพียงแค่อ่านและท่องจำเอาไปสอบหรือทำการบ้านส่งอาจารย์เพียงเท่านั้น หลังจากนั้น เมื่อเวลาผ่านไปก็จะทำให้เราลืม และไม่สามารถนำมาความรู้ที่เราได้เรียนมาปรับใช้ในการทำงานในอนาคตได้  ดังนั้น เวลาที่เราทบทวนบทเรียนก็ควรที่จะอ่านและทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย หรือไม่ก็อาจจะทำการจดสรุปย่อๆ ตามความเข้าใจของตนเองเอาไว้ด้วย  อาจจะเขียนหรือทำเป็น Mind Mapping ก็ได้ ตามที่เราถนัดเลย 2. ลองอธิบายออกมาเป็นคำพูด โดย หลังจากที่เราได้อ่านหนังสือหรือทบทวนบทเรียน พร้อมทั้งเขียนสรุปตามที่เราเข้าใจแล้วนั้น  ก็ให้เราลองปิดทุกอย่าง และลองพูดอธิบายออกมาให้ตนเองได้ฟังด้วยภาษาของตนเอง แล้วลองฟังดูว่าตนเองพูดได้เข้าใจหรือไม่  หากเราสามารถพู...

เทือกเขาหิมาลัยอยู่หนใด?

รูปภาพ
☺เทือกเขาหิมาลัย   ( อังกฤษ :  Himalaya Range ) เป็น เทือกเขา ใน ทวีปเอเชีย  ที่แยก อนุทวีปอินเดีย ทางทิศใต้ ออกจาก ที่ราบสูงทิเบต ทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มี ยอดเขา ที่สูงที่สุดในโลก เช่น  ยอดเขาเอเวอเรสต์  และ ยอดเขากันเจนชุงคา  (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทาง ศัพทมูลวิทยา  คำว่า  หิมาลัย  มาจาก ภาษาสันสกฤต  หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" ( หิม  +  อาลย ) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่ง แม่น้ำสินธุ  และ แอ่งแม่น้ำคงคา - พรหมบุตร   แม่น้ำสาละวิน  และ แม่น้ำโขง [1] เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ —  ปากีสถาน   อินเดีย   จีน   ภูฏาน   เนปาล  — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาว บังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึง เทือกเขาการาโกรัม   ฮินดูกูช  และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุด...

ใครเขียนวิกิพีเดีย???

วิกิพีเดีย:ใครเขียนวิกิพีเดีย หน้านี้เป็นหน้าสารสนเทศ  ซึ่งอธิบายวัตรที่ได้รับการยอมรับของชุมชนในบางแง่มุมของบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมของ วิกิพีเดีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของ นโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย อาสาสมัครซึ่งร่วมเขียนวิกิพีเดียทุกคน ไม่มีความจำเป็นใด ๆ จะต้องรับการฝึกอย่างเป็นทางการก่อนการสร้างบทความใหม่หรือปรับปรุงบทความซึ่งมีอยู่เดิม วิกิพีเดียมีผู้ร่วมสร้างและแก้ไขบทความจากทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งมีความแตกต่างทั้งด้านวัยวุฒิและภูมิหลังอย่างกว้างขวาง บุคคลใดก็ตามซึ่งมีส่วนร่วมแก้ไขสารานุกรมแห่งนี้จะถูกเรียกว่า " ชาววิกิพีเดีย " นโยบายของวิกิพีเดีย คือ การเพิ่มเติมสารานุกรมแต่เฉพาะข้อเท็จจริงซึ่งสามารถ ยืนยันได้  และต้องไม่ใช่ งานค้นคว้าต้นฉบับ รูปแบบของวิกิพีเดียกระตุ้นให้ผู้ร่วมแก้ไขจะต้อง อ้างอิงแหล่งที่มา ของข้อมูล ซึ่งในบางครั้ง ชาววิกิพีเดียบางคนไม่ปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว อาจเป็นเพราะพวกเขาลืม หรืออาจไม่ทราบนโยบายดังกล่าว แต่การไม่เพิ่มแหล่งอ้างอิงลงในบทความ จะทำให้ผู้อ่านบทความไม่อาจพิสูจน์เนื้อหาซึ่งยังคงเป็นที่สงสัยได้ และเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังนี...

สนธิสัญญารีโอเดจาเนโร

รูปภาพ
รีโอเดจาเนโร  ( โปรตุเกส :  Rio de Janeiro ;  เสียงอ่านภาษาอังกฤษ:  /ˈriːoʊ deɪ dʒəˈnɛəroʊ/ ) หรือ  รีอูจีฌาเนย์รู  ( เสียงอ่านภาษาโปรตุเกส สำเนียงบราซิล:  [ˈʁi.u dʒi ʒaˈnejɾu] ) มีความหมายว่า "แม่น้ำเดือนมกราคม") หรือมักเรียกโดยย่อว่า  รีโอ  (Rio) เป็นเมืองหลวงของ รัฐรีโอเดจาเนโร   ประเทศบราซิล  โดยเป็นเมืองที่กล่าวขานกันว่างดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นที่รู้จักในด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะชายหาด กอปากาบานา  (Copacabana) และ อีปาเนมา  (Ipanema)  เทศกาลรื่นเริงประจำปีของบราซิล  และ รูปปั้นพระเยซู ขนาดใหญ่ที่รู้จักในชื่อ  กริชตูเรเดงโตร์  บนยอดเขา กอร์โกวาดู รีโอเดจาเนโรตั้งอยู่ที่ ละติจูด  22 องศา 54 ลิปดาใต้ และ ลองจิจูด  43 องศา 14 ลิปดาตะวันตก ( (6,150,000)  22°54′S   43°14′W ) รีโอมีประชากรประมาณ 6,150,000 (พ.ศ. 2547) และพื้นที่ 1,256 กม² (485 ไมล์²) และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศบราซิลรองจาก เซาเปาลู  (São Paulo) รีโอเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศบราซิล ก่อนที่เมือง...

COP24

รูปภาพ
👀COP24 Share: ...เวทีประชุม COP24 หรือชื่ออย่างเป็นทางการ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC COP24) การชุมนุมของเหล่าผู้นำจากทั่วโลกครั้งที่ 24 ร่วมหารือบรรเทาปัญหาสภาพชั้นบรรยากาศโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตไม่ว่าพักอาศัยอยู่มุมไหนของโลก COP24 จัดขึ้นที่เมืองคาโตวิตเซ เมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ทางภาคใต้ของโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค. ถือเป็นครั้งที่ 4 ที่โปแลนด์ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม... ความพยายามมีส่วนร่วมแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจังของรัฐบาลโปแลนด์น่าสนใจยิ่ง เพราะโปแลนด์คือชาติผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป โปแลนด์อาศัยพลังงานถ่านหินใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงผู้คนในประเทศมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จากเคยใช้ถ่านหินผลิตกระแสไฟฟ้ามากถึง 96 เปอร์เซ็นต์เมื่อช่วงปี 2533 เปรียบเทียบกับชาติสมาชิกทบวงพลังงานระหว่างประเทศอื่นๆพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินมากเฉลี่ย 30 เปอร์เซ็นต์ เฉพาะแรงงานอุตสาหกรรมผลิตถ่านหินในโปแลนด์มีมากราว 90,000 คน หรือราวครึ่งหนึ่งของแรงงานอุตสาหกรรมผลิตถ่านหินทั่วทั้งสหภาพยุโรป รัฐบาลโป...

สนธิสัญญาโรม

รูปภาพ
😍สนธิสัญญาโรม  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า  สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป  เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดย เบลเยียม   ฝรั่งเศส   อิตาลี   ลักเซมเบิร์ก   เนเธอร์แลนด์ และ เยอรมนีตะวันตก  คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดย สนธิสัญญามาสตริกต์  ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของ สหภาพยุโรป  เมื่อ สนธิสัญญาลิสบอน มามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009 ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป

สนธิสัญญาโตเกียว

รูปภาพ
😆อนุสัญญาโตเกียว                                                                       พิธีลงนามในอนุสัญญาสันติภาพโตเกียว 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ.กรุงโตเกียว อนุสัญญาโตเกียว  ( อังกฤษ :  Tokyo Convention ,  อนุสัญญาสันติภาพโตเกียว หรือ  สนธิสัญญาโตกิโอ [1] , เนื่องจากแต่ก่อนคนไทยเรียกกรุงโตเกียวว่ากรุงโตกิโอ) เป็นอนุสัญญาสืบเนื่องมาจาก กรณีพิพาทอินโดจีน ในปี  พ.ศ. 2484  ขณะที่การรบยังไม่สิ้นสุดนั้น  ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจใน เอเชีย ขณะนั้น ได้เข้ามาไกล่เกลี่ย ซึ่งประเทศ ไทย และ ฝรั่งเศส ได้ตกลง และหยุดยิงในว้นที่  28 มกราคม   พ.ศ. 2484 ก่อนจะมีการเจรจากันในวันที่  11 มีนาคม พ.ศ. 2484 [1]  ณ  กรุงโตเกียว  โดยมีนายโซสุเกะ มัดซูโอกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น ฝ่ายไทยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค...